พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 2)

  1. ขม
    หมายถึง น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Viviparidae เปลือกขนาดประมาณเท่าหัวแม่มือ ยอดแหลม สีเขียวหรือดำ ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Filopaludina sumatrensis, F. doliaris.
  2. ขม
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amaranthus วงศ์ Amaranthaceae มีหลายชนิด เช่น ผักขมหนาม (A. spinosus L.) ลำต้นมีหนาม ใช้ทำยาได้ ผักขมสวน (A. tricolor L.) ผักขมแดง (A. caudatus L.) ใบสีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ, ผักโขม หรือ ผักโหม ก็เรียก. (๒) บวบขม. [ดู นมพิจิตร (๒)]. (๓) หวายขม. [ดู หวาย (๑)]. (๔) เทียนขม. (ดู เทียนขม). (๕) ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
  3. ขม
    หมายถึง ว. รสอย่างหนึ่งอย่างรสสะเดาหรือบอระเพ็ด.
  4. ขมขื่น
    หมายถึง ก. รู้สึกชํ้าใจแต่ฝืนไว้ เพราะไม่สามารถแสดงออกมาได้, ขื่นขม ก็ใช้.
  5. ขมงโกรย
    หมายถึง [ขะหฺมงโกฺรย] ดู มงโกรย (๑).
  6. ขมม
    หมายถึง [ขะหฺมม] ก. เชยชม, คลึงเคล้า.
  7. ขมวด
    หมายถึง [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวดอย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
  8. ขมวดยา
    หมายถึง [ขะหฺมวด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า.
  9. ขมวน
    หมายถึง [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
  10. ขมหิน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boerhavia diffusa L. ในวงศ์ Nyctaginaceae ใช้ทำยาได้.
  11. ขมอง
    หมายถึง [ขะหฺมอง] (ปาก) น. สมอง เช่น ปวดขมอง. (ข. ขฺมง ว่า ไขในกระดูก).
  12. ขมอย
    หมายถึง [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่าฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่หรือของน้อง).
  13. ขมัง
    หมายถึง [ขะหฺมัง] น. พรานธนู. (ข. ขฺมาน่).
  14. ขมัง
    หมายถึง [ขะหฺมัง] (โบ) ว. แรง, แข็งขัน, เช่น สองอาจแข็งขมังขึ้น แบ่งให้กันเสมอ. (กำสรวล).
  15. ขมับ
    หมายถึง [ขะหฺมับ] น. ส่วนที่อยู่หางคิ้วเหนือกระดูกแก้มทั้ง ๒ ข้าง.
  16. ขมา
    หมายถึง [ขะมา] ก. กล่าวคำขอโทษ เช่น ไปขมาศพ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).
  17. ขมิบ
    หมายถึง [ขะหฺมิบ] ก. กระหมิบ, บีบเข้าหรือเม้มเข้าซ้ำ ๆ กัน (มักใช้แก่ปาก ช่องทวารหนักและทวารเบา).
  18. ขมิ้น
    หมายถึง [ขะมิ่น] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
  19. ขมิ้น
    หมายถึง [ขะมิ่น] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Oriolidae ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ฟ้า ขาว กินผลไม้และแมลง ทำรังเป็นรูปถ้วยอยู่ตรงง่ามไม้สูง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำ หรือที่มักเรียกกันว่า ขมิ้นเหลืองอ่อน (Oriolus chinensis) ขมิ้นแดง (O. traillii) ขมิ้นขาว (O. mellianus).
  20. ขมิ้นกับปูน
    หมายถึง (สำ) ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน.
  21. ขมิ้นขาว
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Curcuma ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีขาวอมเหลืองอ่อน ใช้เป็นผัก.
  22. ขมิ้นขึ้น
    หมายถึง ดู ขมิ้นอ้อย.
  23. ขมิ้นชัน
    หมายถึง ดู ขมิ้น ๑.
  24. ขมิ้นนาง
    หมายถึง ดู กระดูกอึ่ง.
  25. ขมิ้นลิง
    หมายถึง ดู กระดูกอึ่ง.
  26. ขมิ้นหัวขึ้น
    หมายถึง ดู ขมิ้นอ้อย.
  27. ขมิ้นอ้อย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Curcuma วงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง บางส่วนโผล่พ้นดินขึ้นมา ใช้ปรุงอาหารและทำยา, ขมิ้นขึ้น หรือ ขมิ้นหัวขึ้น ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก กะตุมู.
  28. ขมิ้นเครือ
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด Arcangelisia flava (L.) Merr., Fibraurea tinctoria Lour. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทำยาได้, ชนิดหลัง กำแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก.
  29. ขมีขมัน
    หมายถึง [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
  30. ขมึง
    หมายถึง [ขะหฺมึง] ก. ขึงตา.
  31. ขมึงทึง
    หมายถึง [ขะหฺมึงทึง] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้ง ไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว, ถมึงทึง ก็ว่า.
  32. ขมุ
    หมายถึง [ขะหฺมุ] น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร.
  33. ขมุกขมัว
    หมายถึง [ขะหฺมุกขะหฺมัว] ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดยปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  34. ขมุดขมิด
    หมายถึง [ขะหฺมุดขะหฺมิด] ว. กระหมุดกระหมิด, หวุดหวิด; บิดกระหมวด; ไม่แน่น, ไม่ถึง, ไม่ถนัด.
  35. ขมุบ
    หมายถึง [ขะหฺมุบ] ก. กระหมุบ, กระดุบกระดิบ, ทำปากหมุบ ๆ; เต้นตุบ ๆ อย่างชีพจรเต้น.
  36. ขมุบขมิบ
    หมายถึง [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  37. ขมุม
    หมายถึง [ขะหฺมุม] น. ผึ้ง. (ข. ฆฺมุ ํ).
  38. ขมเป็นยา
    หมายถึง (สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
  39. ขม่อม
    หมายถึง [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
  40. ขม่อมบาง
    หมายถึง (สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนขม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, กระหม่อมบาง ก็ว่า.
  41. ขม้ำ
    หมายถึง [ขะมํ่า] ก. เอาปากงับกินเร็ว ๆ (ใช้แก่สุนัขเป็นต้น ถ้าใช้แก่คน ถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ).
  42. ขย,ขย-
    หมายถึง [ขะยะ-] (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).
  43. ขยด
    หมายถึง [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  44. ขยม
    หมายถึง [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ข. ขฺญุ ํ).
  45. ขยล
    หมายถึง [ขะหฺยน] น. ลม. (ข. ขฺยล่).
  46. ขยอก
    หมายถึง [ขะหฺยอก] ก. อาการที่ค่อย ๆ กลืนอาหารที่คับคอลงไปทีละน้อย, กระเดือกเข้าไป.
  47. ขยอก
    หมายถึง [ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Nymphula depunctalis ในวงศ์ Pyralidae ทำลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอกหุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว สำหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.
  48. ขยอง
    หมายถึง [ขะหฺยอง] (ถิ่น-อีสาน) ก. ผยอง, รู้สึกหวาดกลัว.
  49. ขยอง
    หมายถึง น. โขยง, พวก, หมู่, ฝูง.
  50. ขยะ
    หมายถึง [ขะหฺยะ] น. หยากเยื่อ, มูลฝอย, ใช้ว่า กระหยะ ก็มี.
  51. ขยะแขยง
    หมายถึง [ขะหฺยะขะแหฺยง] ก. เกลียดเมื่อได้เห็นหรือถูกต้องสิ่งที่สกปรก น่ารังเกียจ หรือน่าเกลียดน่ากลัว หรือเมื่อนึกถึงสิ่งนั้น, แขยง ก็ว่า.
  52. ขยัก
    หมายถึง [ขะหฺยัก] ก. กักหรือเก็บไว้บ้างไม่ปล่อยไปจนหมดหรือไม่ทำให้หมด. น. ตอน, พัก, เช่น ทำ ๒ ขยัก ๓ ขยัก.
  53. ขยักขย่อน
    หมายถึง [-ขะหฺย่อน] ก. ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว.
  54. ขยักขย้อน
    หมายถึง [-ขะย่อน] ก. มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน.
  55. ขยัน
    หมายถึง [ขะหฺยัน] ก. ทำการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทำหรือประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
  56. ขยัน
    หมายถึง [ขะหฺยัน] น. ชื่อไม้เถาชนิด Bauhinia strychnifolia Craib ในวงศ์ Leguminosae เปลือกมีรสหวาน ๆ ฝาด ๆ ใช้กินกับหมาก.
  57. ขยับ
    หมายถึง [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทำท่าว่าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่นนั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
  58. ขยับขยาย
    หมายถึง [-ขะหฺยาย] ก. แก้ไขให้คลายความลำบากหรือความคับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์.
  59. ขยับเขยื้อน
    หมายถึง [-ขะเยื่อน] ก. เคลื่อนที่, เลื่อนที่, ย้ายที่, (มักใช้ในความปฏิเสธ).
  60. ขยั้น
    หมายถึง [ขะยั่น] ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง.
  61. ขยาด
    หมายถึง [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะเคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
  62. ขยาบ
    หมายถึง [ขะหฺยาบ] น. เครื่องกันแดดและฝนที่เลื่อนเข้าออกจากประทุนเรือได้.
  63. ขยาย
    หมายถึง [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยายเข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทำให้กว้างใหญ่ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทำให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์.
  64. ขยายขี้เท่อ
    หมายถึง (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
  65. ขยำ
    หมายถึง [ขะหฺยำ] ก. กำยํ้า ๆ, บีบยํ้า ๆ, คลุก.
  66. ขยิก
    หมายถึง [ขะหฺยิก] ว. เร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น เกาขยิก ๆ.
  67. ขยิบ
    หมายถึง [ขะหฺยิบ] ก. ทำหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติสัญญาณให้ผู้อื่นกระทำหรือเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  68. ขยิ่ม
    หมายถึง [ขะหฺยิ่ม] ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น ขยิ่มยิ้มย่อง.
  69. ขยี่ขยัน
    หมายถึง [ขะหฺยี่ขะหฺยัน] ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  70. ขยี้
    หมายถึง [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทำลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
  71. ขยุกขยิก
    หมายถึง [ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดงถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
  72. ขยุกขยุย
    หมายถึง [ขะหฺยุกขะหฺยุย] ว. ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ.
  73. ขยุบ,ขยุบขยิบ
    หมายถึง [ขะหฺยุบ, -ขะหฺยิบ] ว. กระดุบ ๆ, เต้นดุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น.
  74. ขยุม
    หมายถึง [ขะหฺยุม] ว. ขะยุก, ทำถี่ ๆ, เช่น เห็นลับแลแล้วก็พายขยุมใหญ่. (ส. ท่านพุฒาจารย์-โต).
  75. ขยุม
    หมายถึง [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  76. ขยุย
    หมายถึง [ขะหฺยุย] น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Akysis macronemus ในวงศ์ Akysidae รูปร่างคล้ายปลาแขยง ไม่มีเกล็ด มีหนวด, สามเขี้ยว ก็เรียก.
  77. ขยุย
    หมายถึง [ขะหฺยุย] ว. กระจุย, เป็นปุย ๆ.
  78. ขยุ้ม
    หมายถึง [ขะยุ่ม] ก. เอาปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบรวบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาก, โดยปริยายใช้ในอาการอย่างนั้น เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา. น. ปริมาณของที่ขยุ้มมาได้ครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขยุ้มหนึ่ง.
  79. ขยุ้มตีนหมา
    หมายถึง น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีพิษอักเสบออกเป็นเม็ดผื่นดวง ๆ.
  80. ขย่ม
    หมายถึง [ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีกซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. (ดู ห่ม ๑).
  81. ขย่อน
    หมายถึง [ขะหฺย่อน] ว. กระชั้น เช่น ครั้นไก่ขันขย่อนค่อนคืน. (มณีพิชัย).
  82. ขย้อน
    หมายถึง [ขะย่อน] ก. ทำอาการจะอาเจียน; ถอยกลับ.
  83. ขย้ำ
    หมายถึง [ขะยํ่า] ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วยวาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
  84. ขรม
    หมายถึง [ขะหฺรม] ว. เอ็ดอึง, แซ่, (ใช้แก่เสียง).
  85. ขรรคะ,ขรรคา
    หมายถึง [ขักคะ, ขันคา] (แบบ) น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิงขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
  86. ขรรค์
    หมายถึง [ขัน] น. ศัสตราวุธชนิดหนึ่ง มีคม ๒ ข้าง ที่กลางใบมีดทั้งหน้าและหลังเป็นสันเล็กคล้ายคมรูปหอก ด้ามสั้น. (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
  87. ขรัว
    หมายถึง [ขฺรัว] น. คำเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า. ว. เรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว.
  88. ขรัวตา
    หมายถึง น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้า.
  89. ขรัวยาย
    หมายถึง น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
  90. ขริบ
    หมายถึง [ขฺริบ] ก. ตัดเล็มด้วยตะไกรเป็นต้น.
  91. ขรี
    หมายถึง [ขฺรี] ดู สักขี ๒.
  92. ขรึม
    หมายถึง [ขฺรึม] ว. มีอาการนิ่งอย่างตรึกตรอง.
  93. ขรุขระ
    หมายถึง [ขฺรุขฺระ] ว. เป็นปุ่มเป็นแง่, ไม่เรียบราบ.
  94. ขลบ
    หมายถึง [ขฺลบ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. สลบ.
  95. ขลม
    หมายถึง [ขฺลม] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ขนม.
  96. ขลวน
    หมายถึง [ขฺลวน] น. ตัว. (ข. ขฺลวน ว่า ตัว, ตน).
  97. ขลัง
    หมายถึง [ขฺลัง] ว. มีกำลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์. น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
  98. ขลับ
    หมายถึง [ขฺลับ] ว. เลื่อม, เกลี้ยงเป็นมัน, เช่น ดำขลับ มันขลับ.
  99. ขลา
    หมายถึง [ขฺลา] น. เสือ. (ข. ขฺลา).
  100. ขลาด
    หมายถึง [ขฺลาด] ว. มักกลัว, ไม่กล้า.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ข (หน้าที่ 2)"