ค้นเจอ 14 รายการ

อริยสัจ

หมายถึงน. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).

อริยสัจ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

อริยสัจจ์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

เป็นต้น

หมายถึง(ไว) คำที่ใช้แทนเครื่องหมาย ฯลฯ เพื่อละคำหรือข้อความตอนปลายซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับคำหรือข้อความที่ยกขึ้นกล่าวเป็นตัวอย่างตอนต้น เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.

จตุราริยสัจ

หมายถึง[จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).

มี

หมายถึงว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อมีข้าว ในห้องน้ำมีคน. ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่ เช่น มีคนอยู่ไหม.

เป็นต้น

หมายถึงว. เริ่มแรก, เป็นอันดับแรก, เป็นส่วนเบื้องต้น, เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.

ทุกขนิโรธ

หมายถึง[ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๓. (ป.).

ทุกขสมุทัย

หมายถึง[ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๒. (ป.).

อวิชชา

หมายถึง[อะวิดชา] น. ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔; ความเขลา. (ป.).

สัจญาณ

หมายถึง[สัดจะ-] น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนาประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. (ป. สจฺจาณ).

หัวใจ

หมายถึงน. อวัยวะภายในสำหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มีหัวใจ; ส่วนสำคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”.

มรรค

หมายถึง[มัก] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ