ค้นเจอ 58 รายการ

กรณี

หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทำ).

แปรผัน

หมายถึงก. เปลี่ยนแปลงไป, กลับกลายไป, ผันแปร ก็ว่า; (คณิต) เพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน มี ๒ กรณี คือ แปรผันโดยตรง และ แปรผันแบบผกผัน.

กรณียกิจ

หมายถึงน. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทำ.

ราชกรณียกิจ

หมายถึงน. หน้าที่ที่พระราชาพึงกระทำ ใช้ว่า พระราชกรณียกิจ.

อำลา

หมายถึงก. ลาจากไป (มักใช้ในกรณีพิเศษ).

คู่พิพาท

หมายถึง(กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน.

ใบประจำต่อ

หมายถึง(กฎ) น. กระดาษแผ่นหนึ่งที่ผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงิน ในกรณีที่ไม่มีที่ในตั๋วเงินที่จะสลักหลังได้ต่อไป ใบประจำต่อถือเป็นส่วนหนึ่งของตั๋วเงินนั้น.

เบี้ยเลี้ยง

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่จ่ายให้เป็นค่าอาหารประจำวัน ในกรณีที่ออกทำงานนอกสถานที่ตั้งประจำ.

ลูกบ้าน

หมายถึงน. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบันได้แก่ กำนันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี.

เหมาะสม

หมายถึงว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.

เบะ

หมายถึงว. ทำหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคำ เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.

ก่อน

หมายถึงว. เดิม, เริ่ม, ลำดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคำนามบอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคำนามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคำกริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณีหมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ