ค้นเจอ 50 รายการ

อุปัชฌาย์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

อุปัชฌา, อุปัชชา เป็นคำที่เขียนผิด ❌

เฌอ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

กะเฌอ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ฌาน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ฌาณ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ฌาปนกิจ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ฌาปณกิจ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สัชฌ,สัชฌ-,สัชฌะ,สัชฌุ

หมายถึงน. เงิน. (ป.).

ปฐมฌาน

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ฌานเบื้องต้น ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา. (ป.).

มัชฌิม,มัชฌิม-

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-, มัดชิม-] ว. ปานกลาง. (ป. มชฺฌิม).

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

เข้าฌาน

หมายถึงก. ทำใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. (ดู ฌาน).

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

เฌอ

หมายถึงน. ไม้, ต้นไม้. (ข. เฌี ว่า ไม้, เฎิมเฌี ว่า ต้นไม้).

เพชฌฆาต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

เพชรฆาต, เพ็ชรฆาต เป็นคำที่เขียนผิด ❌

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ