ค้นเจอ 1,201 รายการ

ยำใหญ่

หมายถึงน. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้.

ยำ

หมายถึงก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อสัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.

ยำ

หมายถึงก. เคารพ, นับถือ.

ยำสลัด

หมายถึงน. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.

สาระยำ

หมายถึงก. ชั่วมาก เช่น ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระยำ. (พระไชยสุริยา).

ยำขโมย

หมายถึงน. ยำเนื้อย่างใส่แตงกวา ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด.

ยำทวาย

หมายถึงน. ยำชนิดหนึ่ง มีผักลวกเช่นผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิและน้ำพริกซึ่งปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว.

เนื้อเต่ายำเต่า

หมายถึง(สำ) ก. นำเอาทรัพย์สินส่วนที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม.

ใหญ่

หมายถึงว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่าเป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.

เป็นการใหญ่

หมายถึงว. เป็นการเอิกเกริก, เป็นงานใหญ่, เช่น จัดงานสมโภชเป็นการใหญ่, เกินปรกติ เช่น เลี้ยงดูเป็นการใหญ่ จัดบ้านเป็นการใหญ่.

บำหยัด

หมายถึงก. ประหยัด เช่น บำหยัดหยาบพึงเยงยำ. (กฤษณา).

หุ่นใหญ่

หมายถึงน. หุ่นชนิดทำจำลองย่อส่วนตัวละครขนาดสูงประมาณ ๒ ศอก ตัวหนึ่งใช้คนเชิด ๓ คน ใช้แสดงละครเล็ก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ