ค้นเจอ 88 รายการ

ยันป้าย

หมายถึงก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย.

ยัน

หมายถึงก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.

ยัน

หมายถึงก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.

ยันกัน

หมายถึงก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.

ป้าย

หมายถึงน. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.

ป้าย

หมายถึงก. ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.

ยันตร,ยันตร-,ยันตร์

หมายถึง[ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).

สวนปากสวนคำ

หมายถึงก. สอบปากคำยันกันดู.

ต้านทาน

หมายถึงก. ขัดขวาง, ยับยั้ง, ต่อสู้ยันไว้.

อุตตรายัน

หมายถึง[อุดตฺรา-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).

ยรรยง

หมายถึง[ยัน-] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.

ถุงสำเร็จ

หมายถึงน. กระโปรงผู้หญิงที่ตัดเย็บแบบผ้านุ่งป้าย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ