ค้นเจอ 970 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา มีดเสียม

มีดเสียม

หมายถึงน. มีดหัวเสียม.

มีดหัวเสียม

หมายถึงน. มีดขนาดกลาง ใบมีดปลายแบนป้าน โคนแคบ ยาวประมาณ ๑ ศอก ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ใช้ถากหญ้าหรือขุดดินแทนเสียมได้, มีดเสียม หรือ พร้าเสียม ก็เรียก.

เสียม

หมายถึงน. เมืองไทย, ไทย. (เป็นสำเนียงที่ชาวต่างประเทศเรียกเพี้ยนจากคำ สยาม).

เสียม

หมายถึงน. ชื่อเครื่องมือสำหรับขุด แซะ และพรวนดินชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็ก มีด้ามยาว.

มีดดาบ

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอนขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียงปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.

มีดกราย

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว หัวตัด ใช้ถือกรีดกราย, พร้ากราย พร้าโอ หรือ มีดโอ ก็เรียก.

มีด

หมายถึงน. เครื่องใช้สำหรับฟัน ผ่า จัก เหลา เป็นต้น ทำด้วยโลหะมีเหล็กเป็นต้น ใบมีดมีลักษณะเป็นแผ่น รูปยาวรี มีคมด้านหนึ่ง มีสันอยู่อีกด้านหนึ่ง หรือมีคมทั้ง ๒ ด้าน ปลายมีดรูปร่างแหลมก็มี ป้านก็มี โคนมีดเป็นกั่นรูปเดือยเรียวแหลม หรือเป็นแผ่นสอดติดอยู่ในด้ามซึ่งมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ใช้.

มีดขอ

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดยาว ปลายงอเป็นรูปขอ ด้ามยาว ๑-๒ ศอก ใช้สำหรับเกี่ยว ตัด ลิด หรือราน, พร้าขอ ก็เรียก.

มีดบาง

หมายถึงน. มีดขนาดกลาง ใบมีดแบนยาว มีทั้งชนิดปลายมนและปลายเสี้ยว ด้ามทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้หั่น เฉือน หรือซอยผักหรือเนื้อเป็นต้น.

มีดโต้

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ใบมีดมีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผ่าเสี้ยว หัวโต สันหนา โคนมีดแคบ ด้ามทำด้วยไม้เป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีด ขนาดสั้นพอมือกำ มีดโต้ขนาดใหญ่และกลาง ใช้ฟันหรือผ่าทั่วไป ขนาดเล็กใช้กรีดหรือผ่าทุเรียนเป็นต้น, พร้าโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก.

หัว

หมายถึงน. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่า หัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่นออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.

ลงหัว

หมายถึงก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ยอมลงหัวให้ใคร.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ