ค้นเจอ 38 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา พิพากษ์, วิพากษ์

พิพากษา

หมายถึง(กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าวว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า ความสำคัญ).

ผู้พิพากษา

หมายถึง(กฎ) น. ข้าราชการตุลาการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี.

ขุนศาล

หมายถึง(โบ) น. ผู้พิพากษาความ.

ผู้พิพากษาสมทบ

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน.

ตุลาการ

หมายถึง(กฎ) น. ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี.

ยกฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์.

ผู้ถูกกักกัน

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้กักกัน. (ดู กักกัน ประกอบ).

วิพากษ์

หมายถึงก. พิจารณาตัดสิน. (ส. วิวกฺษา; เทียบ วิวาก ว่า ผู้พิพากษา).

ศาลสูง

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกา.

ศาลแขวง

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจไต่สวนหรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.

กระลาการ

หมายถึง(โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).

ศาลสูงสุด

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่อยู่ในลำดับสูงสุดเหนือศาลทั้งหลายในสายเดียวกัน คดีที่ศาลสูงสุดพิจารณาพิพากษาแล้วถือว่าถึงที่สุด.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ