ค้นเจอ 8 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา วินิจ, พินิศ, พิเนต, พินิศจัย, พินิต

พินิจ

หมายถึงก. พิจารณา, ตรวจตรา, เช่น เพ่งพินิจ.

เพ่งพิศ

หมายถึงก. ดูด้วยความพินิจพิเคราะห์.

เบาความ

หมายถึงว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.

ตะกรุมตะกราม

หมายถึง[-กฺรุม-กฺราม] ก. กิริยาที่ทำไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการบริโภคเป็นต้น.

ตะลุย

หมายถึงว. อาการที่ตีหรือบุกดะเข้าไปไม่รั้งรอ, อาการที่อ่านเรื่อยไปโดยไม่พินิจพิจารณา.

กระวี

หมายถึงน. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).

ดู

หมายถึงก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.

หลับหูหลับตา

หมายถึงก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจพิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตาทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้องแข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหู หลับตากลืนเข้าไป.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ