ค้นเจอ 18 รายการ

น้ำเงิน

หมายถึงดู ชะโอน.

น้ำเงิน

หมายถึงว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจำนวนเงินที่ส่งไป เรียกว่า ค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมาว่า ทาสนํ้าเงิน.

ค่าน้ำเงิน

หมายถึงดู น้ำเงิน ๑.

ทาสน้ำเงิน

หมายถึงดู น้ำเงิน ๑.

ยีน

หมายถึงน. ผ้าฝ้ายเนื้อหนาหยาบ มักย้อมสีน้ำเงิน. (อ. jean).

แพ้แรง

หมายถึงว. เสียกำลัง, หมดแรง เช่น ทำงานหนักจนแพ้แรง; สู้แรงไม่ได้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินสู้ฝ่ายแดงไม่ได้เพราะแพ้แรง.

สะเอ้ง

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Pternandra caerulescens Jack ในวงศ์ Melastomataceae ใบมีเส้นตามยาว ๓ เส้น ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน.

เบญจโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

สัตโลหะ

หมายถึง[สัดตะ-] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

หินชนวน

หมายถึงน. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี.

ม่วง

หมายถึงว. สีน้ำเงินปนแดง, ถ้าออกครามเรียก สีม่วงคราม, ถ้าออกแดงเรียก สีม่วงชาด, ถ้าเจือขาวเรียก สีม่วงอ่อน, เรียกผ้าไหมสำหรับผู้ชายนุ่งที่มีสีอย่างนั้นหรือสีอย่างอื่นว่า ผ้าม่วง.

ฟ้า

หมายถึงน. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็นพยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ