ค้นเจอ 12 รายการ

ชล,ชล-

หมายถึง[ชน, ชนละ-] น. นํ้า. (ป., ส.).

ชะลอ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ชลอ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สาชล

หมายถึง(กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวังสวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).

ชลาลัย

หมายถึงน. ทะเล, แม่นํ้า. (ป., ส. ชล + อาลย = ที่อยู่ของนํ้า).

ชลัมพุ

หมายถึง(แบบ) น. นํ้า เช่น และไขชลัมพุธารา. (อภิไธยโพธิบาทว์). (ป. ชล + อมฺพุ).

เขดา

หมายถึง[ขะเดา] น. กำเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ข. เกฺดา).

ชโลทร

หมายถึง[ชะโลทอน] น. แม่นํ้า, ทะเล, ห้วงนํ้า, ท้องนํ้า. (ป., ส. ชล + อุทร).

กุณฑี

หมายถึง[-ที] น. คนที, หม้อนํ้า, หม้อนํ้ามีหู, เต้านํ้า, เช่น พลูกัดชลกุณฑี ลูกไม้. (โลกนิติ). (ป., ส.).

กระชอก

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. กระฉอก เช่น กระชอกชอกชล กระมลมลมาลย์. (ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒). (ไทยเหนือ ซอก ว่า ตำ, กระทุ้ง).

ชทึง

หมายถึง[ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).

ฉ่า

หมายถึงว. เสียงนํ้ามันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ