ค้นเจอ 28 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา คฤหาสน์, สนาดก, นหาดก, กระหัด, คหัฐ

คฤหัสถ์

หมายถึง[คะรึหัด] น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส. (ส. คฺฤหสฺถ; ป. คหฏฺ).

กระหัด

หมายถึง(ปาก) น. คฤหัสถ์.

สนาดก

หมายถึง[สะนา-] (แบบ) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).

นหาดก

หมายถึง[นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คำบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สำหรับเรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทำพิธีอาบนํ้า ซึ่งจำต้องกระทำเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสำนักอาจารย์ และตั้งต้นเป็นผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอาท่านที่ชำระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).

คหัฐ

หมายถึง[คะหัด] (ปาก) น. คฤหัสถ์. (ป. คหฏฺ).

เววัณณิยะ

หมายถึงน. ความเป็นผู้มีวรรณะต่างกันหรือต่างเพศกัน เช่นเพศบรรพชิตต่างกับเพศคฤหัสถ์. (ป.).

สีกา

หมายถึง(ปาก) น. คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก. (ตัดมาจาก อุบาสิกา).

อุบาสิกา

หมายถึงน. คฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสิกา).

อุบาสก

หมายถึงน. คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสก).

อนุปสัมบัน

หมายถึง[อะนุปะสำบัน] น. ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. (ป.).

อันเตวาสิก

หมายถึงน. “ชนผู้อยู่ในภายใน” หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครองหรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).

ตุ๊ย

หมายถึงก. เอาหมัดกระแทกเอา. (จ.). น. เรียกตัวตลกที่ออกมาขัดจังหวะในการสวดคฤหัสถ์ว่า ตัวตุ๊ย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ