ค้นเจอ 47 รายการ

คด

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสัณฐานหักมุมเป็นข้อศอก เช่น วิหารคด. ว. ลักษณะที่ไม่ตรงตลอด; ไม่ซื่อ.

คด

หมายถึงน. วัตถุแข็งคล้ายหินที่มีในสัตว์หรือต้นไม้ นับถือกันว่าเป็นเครื่องราง.

คด

หมายถึงก. ตักข้าวสุกออกจากหม้อ.

วักกะ

หมายถึงว. คด, ไม่ตรง, โกง, งอ. (ป.; ส. วกฺร).

หยัก,หยัก ๆ

หมายถึงก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทำให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. ว. คด ๆ งอ ๆ เช่น เขียนเส้นหยัก ๆ.

ชุ้ง

หมายถึงว. โค้ง, คด.

วงก์

หมายถึงน. เบ็ด. ว. คด, โค้ง, ลดเลี้ยว; คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (ป.; ส. วกฺร).

พด

หมายถึงว. คด, งอ, ขด.

คต,-คต

หมายถึง[-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).

กระทด

หมายถึง(โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตำราช้างคำโคลง), ไม้กระทดกระทำทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).

กระทดกระทัน

หมายถึง(โบ) ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคดกระทดกระทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน).

ชะวุ้ง

หมายถึงว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคำฉันท์).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ