ค้นเจอ 27 รายการ

เหง

หมายถึง[เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ข่ม เป็น ข่มเหง.

ข่ม

หมายถึงก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้นที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.

ลายสอง

หมายถึงน. ลายสานหรือลายขัดที่ยก ๒ ข่ม ๒; ชื่อผ้าชนิดหนึ่งทอเป็นลายเช่นนั้น.

กด

หมายถึงก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).

ทันต์

หมายถึง(แบบ) ก. ทรมานแล้ว, ข่มแล้ว, ฝึกหัดแล้ว. (ป.).

ยกตนข่มท่าน

หมายถึง(สำ) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.

ลายขัด

หมายถึงน. ลายสานที่ขัดกันยกหนึ่งข่มหนึ่ง.

ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

หมายถึง(สำ) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).

กบทู

หมายถึงน. สันแห่งหลังคาเรือน, ไม้ข่มข้างกลอน.

สะกดอกสะกดใจ,สะกดอารมณ์

หมายถึงก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ.

นิเคราะห์

หมายถึงน. นิคหะ, การข่ม, การปราบปราม. (ส. นิคฺรห; ป. นิคฺคห).

ข่มนาม

หมายถึงก. ทำพิธีข่มชื่อศัตรูก่อนยกทัพ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ