ค้นเจอ 12 รายการ

หมายเรียก

หมายถึง(กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐานให้ศาล; หมายที่นายอำเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ.

ร้องเรียก

หมายถึงก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.

เรียกคืน

หมายถึงก. ทวงคืน เช่น ฉันเรียกคืนเงินมัดจำจากบริษัท.

เรียกเนื้อ

หมายถึงก. ทำให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อนบ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.

เรียกหา

หมายถึงก. ร้องหา เช่น ลูกเรียกหาแม่ทั้งคืน คนไข้เรียกหาหมอ.

เรียกขวัญ

หมายถึงก. เชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวโดยมีหมอขวัญทำพิธี.

เรียกตัว

หมายถึงก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัวให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.

เรียกร้อง

หมายถึงก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้องขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.

เผื่อเรียก

หมายถึงว. ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะเรียกให้จ่ายเมื่อใดก็ได้ เรียกว่า ฝากเผื่อเรียก.

ฝากเผื่อเรียก

หมายถึงก. ฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะเรียกให้จ่ายเมื่อใดก็ได้.

ร้องเรียกร้องหา

หมายถึงก. ต้องการตัว.

เรียก

หมายถึงก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็งเรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ