ค้นเจอ 26 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ยุค, ฤดู, ปาง, ขณะ, สมัย, ชั่ว, ชำนัน, อวัสดา

สมัย

หมายถึง[สะไหฺม] น. เวลา, คราว, เช่น สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยปัจจุบัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาล เป็น กาลสมัย. (ป., ส.).

สมัยเก่า

หมายถึงน. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า.

ล้ำยุค,ล้ำสมัย

หมายถึงว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียนมีความคิดล้ำยุค.

อภิสมัย

หมายถึง[อะพิสะไหฺม] น. ความตรัสรู้, ความบรรลุ, การถึง, ใช้ในคำว่า ธรรมาภิสมัย. (ป., ส.).

อักษรสมัย

หมายถึง[อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ส.).

จีวรกาลสมัย

หมายถึง(แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).

ล้าสมัย

หมายถึงว. ไม่ทันหรือไม่เป็นไปตามสมัยที่กำลังนิยมกัน เช่น เขาเป็นคนล้าสมัย.

อดีตกาล,อดีตสมัย

หมายถึง[อะดีดตะกาน, -ตะสะไหฺม] น. เวลาที่ล่วงแล้ว.

อักขรสมัย

หมายถึง[อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ป.).

พิสมัย เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

พิศมัย เป็นคำที่เขียนผิด ❌

บุพพัณหสมัย

หมายถึง[-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).

สมัยนิยม

หมายถึงน. ความนิยมในแต่ละสมัย เช่น แต่งตัวตามสมัยนิยม ไว้ผมตามสมัยนิยม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ