ค้นเจอ 14 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา พาทย์

หน้าพาทย์แผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อเดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.

พิณพาทย์

หมายถึงน. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.

คุกพาทย์

หมายถึงน. ชื่อเพลงปี่พาทย์เพลงหนึ่ง ใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการรำในท่าที่ดุร้าย.

ปี่พาทย์เครื่องห้า

หมายถึงน. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.

ปี่พาทย์เครื่องคู่

หมายถึงน. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.

ปี่พาทย์เครื่องใหญ่

หมายถึงน. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้องโหม่งผสมด้วย, พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก.

พาทย์

หมายถึง(กลอน) น. เครื่องประโคม. (ส. วาทฺย).

พิณพาทย์เครื่องคู่

หมายถึงน. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.

ปี่พาทย์

หมายถึงน. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยที่มีปี่ ฆ้อง กลอง ตะโพน ผสมกัน มีขนาดวงอยู่ ๓ ขนาด คือ ปี่พาทย์เครื่อง ๕ ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์เครื่องใหญ่, พิณพาทย์ ก็เรียก.

พิณพาทย์เครื่องห้า

หมายถึงน. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.

พิณพาทย์เครื่องใหญ่

หมายถึงน. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้องโหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.

เพลงหน้าพาทย์

หมายถึงน. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สำหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สำหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ