ค้นเจอ 29 รายการ

ตำข้าวสารกรอกหม้อ

หมายถึงทำพอให้เสร็จไปแค่ครั้งหนึ่ง ๆ พอพรุ่งนี้จะเอา ค่อยทำใหม่

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงเรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร

ตำข้าวสารกรอกหม้อ

หมายถึงหาเพียงแค่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ, ทำพอให้เสร็จไปชั่วครั้งหนึ่ง ๆ

มือซุกหีบ

หมายถึงเข้าไปยุ่งเกี่ยว รับภาระหรือยุ่งเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ภาระของตนเอง

ภาวนากันตาย

หมายถึงทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย

กำปั้นทุบดิน

หมายถึงการพูดแบบกว้าง ๆ อาจจะตรงประเด็นหรือไม่ตรง เป็นการตอบที่ไม่ใช่คำตอบที่ผิด แต่เป็นการตอบที่ไม่ได้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง

มือที่สาม

หมายถึงบุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือบ่อนทำลาย

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

หมายถึงแม้จะมีความรู้สูงแค่ไหนก็ตาม ถ้าความประพฤติไม่ดีแล้วก็เอาตัวไม่รอด เพราะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย หรือมีความรู้ แต่ไม่ใช้ความรู้ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

หมายถึงเป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตนเช่นมีเงินไม่มากนักก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว

ขี่ช้างจับตั๊กแตน

หมายถึงการจัดทำสิ่งใดที่เป็นการโกลาหลโดยใช่เหตุหรือธุระที่ทำนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยไม่น่าจะต้องลงทุนหรือเตรียมการใหญ่โตเกินต้องการเหมือนคนลงทุนมากได้ผลตอบแทนน้อย

ปลูกเรือนต้องตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ต้องตามใจผู้นอน

หมายถึงจะทำอะไรก็ต้องตามใจผู้ที่จะได้รับผล เหมือนปลูกเรือนต้องปลูกตามที่ผู้อยู่ต้องการ ไม่ใช่ตามที่ช่างต้องการ เพราะช่างหรือสถาปนิกไม่ใช้ผู้อาศัย ผูกอู่ก็คือผูกเปล ก็ต้องให้ถูกใจผู้นอน

เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย

หมายถึงผู้หญิงที่จะผูกมัดจิตใจสามีได้ ไม่ใช่เพียงเพราะความสวยอย่างเดียว เพราะความสวยงามเป็นของไม่จีรังยั่งยืนอะไร แต่ความดีโดยเฉพาะฝีมือในการปรุงอาหาร ถ้าหากสามารถทำให้ถูกปากสามีได้ ย่อมผูกใจสามีให้รักไปจนตาย

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ