ค้นเจอ 143 รายการ

สอดรู้สอดเห็น

หมายถึงเที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.

ล้มทั้งยืน

หมายถึงล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่างรุนแรงโดยไม่เคยคาดคิด ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอรู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึงเวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน

ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด

หมายถึงช้างเป็นสัตว์ใหญ่ ใบบัวมีขนาดเล็ก ถ้าเอาใบบัวใบเดียวไปปิดช้าง ย่อมปิดไม่มิด คนที่ทำความชั่วไว้มากมาย ถึงจะปิดอย่างไรๆ ก็ปิดไม่หมด คนย่อมรู้เข้าจนได้

ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก อย่าได้ไว้วางใจ

หมายถึงช้างสารและงูเห่า เป็นสัตว์เดรัจฉานไว้ใจไม่ได้ ข้าเก่าและเมียรัก เป็นบุคคลที่ใกล้ชิด ย่อมรู้เรื่องราวและความลับของเราหมด บุคคลประเภทนี้ ถ้ากลับกลายเป็นศัตรูแล้วจะเป็นศัตรูที่ร้ายที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรไว้วางใจจนเกินไป

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึงการกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง

สาวไส้ให้กากิน

หมายถึงการนำความลับหรือเรื่องเลวร้ายไปบอกให้คนอื่นรู้ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ให้กับใคร แต่ผู้ที่ได้รับฟังกลับได้ล่วงรู้ความลับต่างๆ สำนวนนี้มักจะใช้สื่อถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ดี และมักจะมีคู่กรณีที่ต่างคนต่างแฉกันและกัน

ลอยลม

หมายถึงทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

อย่าชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึงตามปรกติผลไม้ เช่นมะม่วงก่อนจะสุก จะต้องห่ามเสียก่อน การกระทำอะไรต้องให้เป็นไปตามจังหวะขั้นตอนของมัน ถ้าทำผิดลำดับอาจเสียหาย เหมือนผลไม้ที่ยังไม่แก่ เอามาบ่มแม้จะสุก แต่ก็จะเข้าทำนองหัวหวานก้นเปรี้ยว หรือยังเรียนหนังสือไม่จบ ยังหาเงินไม่ได้ ริมีลูกมีเมียเสียก่อน ตัวเองก็จะเดือดร้อนลูกเมียก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

หมายถึงการจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว

กงกำกงเกวียน

หมายถึงการกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ