ค้นเจอ 59 รายการ

ขนหน้าแข้งไม่ร่วง

หมายถึงไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ)

กินของเก่า

หมายถึงการเสวยสุข ผลประโยชน์จาก บุญเก่าโดยไม่ เสาะแสวงหา ลู่ทางใหม่ ๆ อาศัยกินของเก่า

ขนทรายเข้าวัด

หมายถึงการทำประโยชน์ให้ส่วนรวมโดยการกระทำอย่างไรอย่างหนึ่งแม้ไปกระทบกระเทือนให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ก็ถือว่ายกให้กับส่วนรวมไม่ต้องมีอะไรมาชดเชยก็ได้

แมวไม่อยู่หนูร่าเริง

หมายถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ที่ตนเกรงกลัว หรือผู้ที่คอยคุมพฤติกรรมไม่อยู่ ผู้น้อยก็จะดีใจ มีความสุขร่าเริง

สัตว์

แมวไม่อยู่หนูละเลิง

หมายถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ที่ตนเกรงกลัว หรือผู้ที่คอยคุมพฤติกรรมไม่อยู่ ผู้น้อยก็จะดีใจ มีความสุขร่าเริง

สัตว์

ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง

หมายถึงจะทำอะไรก็ทำอย่างมีสติ รอบคอบ แม้จะช้าไปบ้างก็ได้ผลดี แต่ถ้าทำอย่างรีบร้อน ไม่พินิจพิเคราะห์ให้ดีก่อน อาจผิดพลาดเสียหายได้ง่าย

ชาติเสือจับเนื้อกินเอง

หมายถึงคนที่เชื่อมั่นและถือศักดิ์ศรีของตน แม้จะลำบากยากแค้นก็ไม่ยอมรบกวนและเบียดเบียนใคร หรือการทำมาหากินด้วยความอุตสาหะไม่เบียดเบียนผู้อื่น

เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน

หมายถึงถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อยๆ ทำให้ดีขึ้นแม้เล็กน้อยๆ เมื่อรวมกันและใช้เวลาก็จะทำให้การงานนั้นเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

หมายถึงคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”

ปากคนยาวกว่าปากกา

หมายถึงตามปรกติปากของอีกายาวกว่าปากคน แต่ปากคนนั้นพูดเล่าลือต่อปากกันไปได้ไกล ผิดกับกาแม้ปากจะยาว แต่ก็ต่อปากต่อคำอย่างคนไม่ได้

สาหัสสากรรจ์

หมายถึงแสนสาหัส, ร้ายแรงมาก, คอขาดบาดตาย, เช่น ได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์, โดยปริยายหมายความว่า ลำบากยิ่ง เช่น ทางนี้ทุรกันดารสาหัสสากรรจ์ บุกป่าฝ่าดงอย่างสาหัสสากรรจ์.

เฒ่าหัวงู

หมายถึงคนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีนิสัยเจ้าชู้ มีเล่ห์เหลี่ยม ชอบใช้กลอุบาย หลอกล่อเด็กสาวไปบำเรอความสุข ในทางกามารมณ์

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ