ค้นเจอ 38 รายการ

ไม่ได้สิบ

หมายถึง(กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทำอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง)

ตาเป็นสับปะรด

หมายถึงคนที่หูตากว้างไกล ในที่นี้จะเน้นว่ามีพรรคพวกมาก ใครทำอะไร ที่ไหน จะรู้ไปหมด โดยรู้จากพรรคพวกเพื่อนฝูงหรือบริวารที่มีอยู่ทั่วไปเป็นคนส่งข่าวให้ โดยที่สำนวนตาเป็นสับปะรดนี้เกิดจากการเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ข่าวสาร เรื่องราว ของบุคคลกับตาของสับปะรดซึ่งมีอยู่รอบลูก

ไว้เนื้อเชื่อใจ

หมายถึงที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขาเถอะ เขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อเชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ

ตึงหย่อนแต่พองาม

หมายถึงทำอะไรก็ให้ทำให้พอเหมาะพอควร

ตึงนักมักขาด

หมายถึงหากไม่รู้จักผ่อนผัน ท้ายสุดก็จะเป็นแตกหักกัน

หย่อนนักมักยุ่ง

หมายถึงหากไม่เคร่งครัด ท้ายสุดก็มักจะเกิดปัญหาตามหลัง

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว

หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนไม่อดอยากปากแห้ง โดยเทียบได้กับในแหล่งน้ำทุกที่มีปลาให้จับเป็นอาหารและในนาก็มีข้าวอุดมสมบูรณ์

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

ฆ่าควายเสียดายพริก

หมายถึงการจะกระทำการใหญ่ แต่กลัวว่าจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเล็ก

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

หมายถึงการจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว

นินทากาเลเหมือนเทน้ำ

หมายถึงการติฉินนินทานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ