ค้นเจอ 257 รายการ

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

หมายถึงผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้สูงอายุนับว่าเป็นผู้ผ่านโลกมาก่อน ย่อมมีประสบการณ์มาก จะทำสิ่งใดจึงควรขอคำแนะนำ

ตีท้ายครัว

หมายถึงเข้าติดต่อตีสนิททางภรรยา

หน้าโลหิต

หมายถึงชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด

ควันหลง

หมายถึงเรื่องราวตามมาหรือเบื้องลึกเบื้องหลังที่มีหลุดออกออกมา หรือสิ่งที่ตามมาเป็นกระแสยังไม่จบซะทีเดียว จากเรื่องที่พึ่งเกิดยังไม่หมดสิ้นกลับปรากฏขึ้นอีก หรือผลพวงที่ตามมาจากเรื่องเหล่านั้น

สองสลึงเฟื้อง

หมายถึงบ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ

สามสลึงเฟื้อง

หมายถึงบ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ

ไม่เต็มหุน

หมายถึงมีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ

ตึงหย่อนแต่พองาม

หมายถึงทำอะไรก็ให้ทำให้พอเหมาะพอควร

คลุมถุงชน

หมายถึงลักษณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาเผชิญกันทั้งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มักใช้แก่ประเพณีแต่งงานสมัยก่อนที่พ่อแม่เป็นผู้จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่เคยรู้จักหรือรักกันมาก่อนเหมือนแกมบังคับให้โดนจับคู่กัน

เล่นขายของ

หมายถึงลักษณะการกระทำที่ไม่ถูกหลักเกณฑ์ ไม่จริงไม่จังเหมือนทำเล่น ๆ (มักใช้เป็นเชิงเปรียบเทียบ) เช่น ทำขนมขายนิด ๆ หน่อย ๆ เหมือนกับเด็กเล่นขายของ.

เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

หมายถึงคนมีอำนาจ บารมี อิทธิพลพอ ๆ กัน ย่อมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เขาทั้งสองเป็นคนเก่งและมีความสามารถเท่า ๆ กันมักเกิดปัญหาเพราะความไม่ยอมกันเหมือนเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ