ค้นเจอ 126 รายการ

ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด

หมายถึงฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ

จุดไต้ตำตอ

หมายถึงพูด/ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเอาเจ้าของเรื่องเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างไม่รู้ตัว

อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

หมายถึงบางทีก็พูดว่า “อย่าชักเรือเข้าลึก” หมายความว่า อย่าทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว

ตีวัวกระทบคราด

หมายถึงการเสแสร้งแกล้งพูดหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้ไปกระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากโกรธเขาแต่ไปทำอะไรเขาโดยตรงไม่ได้

ยกตนข่มท่าน

หมายถึงยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น,พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า

ภาวนากันตาย

หมายถึงทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย

ไม่ได้ศัพท์

หมายถึง(กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง)

ไว้เนื้อเชื่อใจ

หมายถึงที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขาเถอะ เขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อเชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ

ยืนกระต่ายขาเดียว

หมายถึงการพูดยืนยันคำเดียวไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปเช่นเขาไม่ได้ลักเงินไปจริงๆถามเขาตั้งร้อยครั้งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้อาไปจริง

ชักใบให้เรือเสีย

หมายถึงการพูดหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ การสนทนาหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ต้องเขว ออกนอกเรื่อง นอกประเด็นไป

ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ

หมายถึงคนพูดดีด้วยแต่ในใจไม่บริสุทธิ มุ่งคิดร้ายอาฆาตผู้อื่นตลอดเวลา

หวานเป็นลมขมเป็นยา

หมายถึงคำชม หรือคำพูดเยินยอฟังแล้วก็จบไปไม่ก่อประโยชน์แต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ