ค้นเจอ 180 รายการ

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

หมายถึงคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”

ไก่อ่อน

หมายถึงผู้มีประสบการณ์น้อยยังไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน

มากหน้าหลายตา

หมายถึงมากมาย (ใช้แก่คน) เช่น ผู้คนมากหน้าหลายตา

วัวหายแล้วจึงล้อมคอก

หมายถึงเมื่อเกิดเสียหายขึ้นมาแล้วจึงหาทางป้องกันในภายหลัง ซึ่งนับว่าไม่ทันการณ์ ควรจะล้อมคอกเสียก่อนที่วัวจะหาย

วัวเห็นแก่หญ้าขี้ข้าเห็นแก่กิน

หมายถึงหมายถึงคนที่เห็นแก่ได้ เห็นแก่กิน และเกียจคร้าน

วัวใครก็เข้าคอกคนนั้น

หมายถึงส่วนของใครก็เป็นของคนนั้น ไม่ก้าวก่ายหรือก้ำเกินในผลประโยชน์ของกันและกัน

มากหมอมากความ

หมายถึงหลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกันเป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้

แกว่งเท้าหาเสี้ยน

หมายถึงคนที่ชอบรนหาที่ หาเรื่องใส่ตัว ไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่นโดยไม่จำเป็น จนตัวเองได้รับความเดือดร้อน

อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก

หมายถึงอย่าเป็นคนดีแต่พูด คือพูดได้ แต่ทำไม่ได้

เลือดข้นกว่าน้ำ

หมายถึงญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น

ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา

หมายถึงสมัยก่อนการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านยังไม่แพร่หลาย คนที่รู้หนังสือมีน้อย บางคนก็ได้ดีเพราะปาก การคิดเลขหรือการคำนวณนั้นมีความสำคัญน้อยลงมาอีก แม้เดี๋ยวนี้คนที่มีความรู้ดีแต่พูดไม่เก่ง ก็เอาดีได้ยาก ส่วนความชั่วความดีนี้ ทำลงไปแล้วย่อมเป็นเสมือนตราที่ประทับลงไปให้รู้ว่าคนนั้นเป็นคนดี หรือคนชั่ว

กินปูนร้อนท้อง

หมายถึงเปรียบเหมือนคนเมื่อทำความผิดแล้วเกรงว่าคนอื่นจะจับความผิดของตนได้ อันที่จริง เฉยไว้ก็ไม่มีใครรู้แต่กลับแสดงอาการพิรุธออกมาให้เห็นก่อนที่คนอื่นจะรู้

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ