ค้นเจอ 232 รายการ

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

กาในหมู่หงส์

หมายถึงคนที่ต่ำต้อยไม่มีเกียรติ ไปอยู่ท่ามกลางสังคมผู้ดี ผู้สูงศักดิ์ ทำให้ถูกดูหมิ่น ดูแคลน เป็นที่รังเกียจ

จองหองพองขน

หมายถึงเย่อหยิ่ง อวดดี ทะนงตน หรือไม่รู้จักบุญคุณด้วยการแสดงอาการลบหลู่ผู้มีพระคุณ

ภาวนากันตาย

หมายถึงทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย

เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร

หมายถึงเดิมเราถือกันว่า ผู้หญิงที่เป็นแม่ร้างเพราะสามีหนีไปนั้น แสดงว่าผู้หญิงผู้นั้นต้องมีอะไรบกพร่องเลวร้าย สังคมมักคิดว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี เพราะฉะนั้นผู้หญิงจึงไม่ยอมเสียสามีให้แก่หญิงใด เพราะเท่ากับเสียศักดิ์ศรีของตน แต่ในปัจจุบันอาจได้ยินบางคนพูดว่า “ถ้าได้ทองเท่าหัว ใครอยากได้ผัวก็เอกไป” แสดงว่าคนเดี๋ยวนี้เห็นแก่เงินมากขึ้น

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

หมายถึงวัวถ้าไม่ผูกไว้ ก็อาจหายได้ ถ้าลูกดื้อ พ่อแม่ก็ต้องดุต้องตีบ้าง แต่การที่พ่อแม่ตีไม่ใช่ตีด้วยความเกลียดชัง เพราะพ่อแม่ที่ตีนั้นก็ไม่อยากตี บางทีตีแล้วแอบไปร้องไห้ สงสารลูกก็มี แต่ถ้าไม่ตีเสียบ้าง ต่อไปถ้าลูกกลายเป็นคนชั่วช้าเลวทราม พ่อแม่จะต้องเสียน้ำตามากกว่านั้น

แพแตก

หมายถึงลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต.

แมวไม่อยู่หนูร่าเริง

หมายถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ที่ตนเกรงกลัว หรือผู้ที่คอยคุมพฤติกรรมไม่อยู่ ผู้น้อยก็จะดีใจ มีความสุขร่าเริง

สัตว์

กระโถนท้องพระโรง

หมายถึงคนที่โดนผู้อื่นรุมใช้อยู่คนเดียว ใคร ๆ ต่างก็เรียกใช้เหมือนกระโถนที่ต้องรองรับทุกสิ่งทุกอย่าง

ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ

หมายถึงคนพูดดีด้วยแต่ในใจไม่บริสุทธิ มุ่งคิดร้ายอาฆาตผู้อื่นตลอดเวลา

ตลาดหน้าคุก

หมายถึงตลาดหรือร้านค้าที่ฉวยโอกาสขายของแพง ขึ้นราคาของให้แพงกว่าปกติ และผู้ซื้อจำเป็นต้องซื้อมาใช้

แมวไม่อยู่หนูละเลิง

หมายถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ที่ตนเกรงกลัว หรือผู้ที่คอยคุมพฤติกรรมไม่อยู่ ผู้น้อยก็จะดีใจ มีความสุขร่าเริง

สัตว์

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ