ค้นเจอ 180 รายการ

แบกหน้า

หมายถึงจำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).

ลงแขก

หมายถึงร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; รุมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง

กินบนเรือนขี้บนหลังคา

หมายถึงคนเนรคุณ ไม่รู้จักบุญคุณคน เหมือนผู้ที่อาศัยพักพิงบ้านเขา แต่กลับทำเรื่องเดือดร้อน สร้างความเสียหาย ให้กับเจ้าของบ้าน

ถวายหัว

หมายถึงยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตายสู้ตายถวายชีวิตให้ มอบชีวิตมอบความภักดีให้อย่างซื่อสัตย์

อย่าชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึงตามปรกติผลไม้ เช่นมะม่วงก่อนจะสุก จะต้องห่ามเสียก่อน การกระทำอะไรต้องให้เป็นไปตามจังหวะขั้นตอนของมัน ถ้าทำผิดลำดับอาจเสียหาย เหมือนผลไม้ที่ยังไม่แก่ เอามาบ่มแม้จะสุก แต่ก็จะเข้าทำนองหัวหวานก้นเปรี้ยว หรือยังเรียนหนังสือไม่จบ ยังหาเงินไม่ได้ ริมีลูกมีเมียเสียก่อน ตัวเองก็จะเดือดร้อนลูกเมียก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย

ชี้โพรงให้กระรอก

หมายถึงผู้ที่ชอบทำอะไรก็ตามเป็นนิสัยเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาบอกกล่าวก็จะลงมือทำทันที เช่น เป็นคนชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยวก็จะไป หรือผู้มีนิสัยเป็นคนขี้ลักขี้ขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าไปขโมยหรือลักทรัพย์ในบ้านนั้น เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้

พริกกะเกลือ

หมายถึงกับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตำจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล

กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย

หมายถึงอยู่อย่างสะดวกสบายไม่ลำบาก อยู่ไปเฉย ๆ นอนตื่นสายไม่ทำอะไรก็มีอยู่มีกินมีใช้ เปรียบคนที่มีข้าวร้อน ๆ กินทุกวัน คนที่นอนตื่นสายได้ทุกวัน อะไรมันจะสบายแบบนี้ไม่มีแล้ว

สิบแปดมงกุฎ

หมายถึงเหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น.

สอดรู้สอดเห็น

หมายถึงเที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.

ปลูกเรือนต้องตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ต้องตามใจผู้นอน

หมายถึงจะทำอะไรก็ต้องตามใจผู้ที่จะได้รับผล เหมือนปลูกเรือนต้องปลูกตามที่ผู้อยู่ต้องการ ไม่ใช่ตามที่ช่างต้องการ เพราะช่างหรือสถาปนิกไม่ใช้ผู้อาศัย ผูกอู่ก็คือผูกเปล ก็ต้องให้ถูกใจผู้นอน

สอนเด็ก สอนง่าย สอนผู้ใหญ่ สอนยาก

หมายถึงจะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ