ค้นเจอ 124 รายการ

ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ

หมายถึงปล่อยศัตรูสำคัญหรือโจรผู้ร้าย ที่ตกอยู่ในอำนาจให้พ้นไปนั้น จะทำให้เขากลับมีกำลังและอาจกลับเข้ามาก่อความเดือดร้อนได้อีก

ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้

หมายถึงด่วนตัดสินใจทำอะไรเลยไป ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร

น้ำสั่งฟ้าปลาสั่งฝน

หมายถึงสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย

หมายถึงเมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นธรรมดา

ยานพาหนะ

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

หมายถึงให้รู้จักเจียมเนื้อเจียมตัวไว้บ้าง

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

หมายถึงการจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว

ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา

หมายถึงสมัยก่อนการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านยังไม่แพร่หลาย คนที่รู้หนังสือมีน้อย บางคนก็ได้ดีเพราะปาก การคิดเลขหรือการคำนวณนั้นมีความสำคัญน้อยลงมาอีก แม้เดี๋ยวนี้คนที่มีความรู้ดีแต่พูดไม่เก่ง ก็เอาดีได้ยาก ส่วนความชั่วความดีนี้ ทำลงไปแล้วย่อมเป็นเสมือนตราที่ประทับลงไปให้รู้ว่าคนนั้นเป็นคนดี หรือคนชั่ว

คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

หมายถึงคนดีไปที่ไหนก็มีคนอยากคบหาสมาคมด้วย ไม่ลำบาก

อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

หมายถึงบางทีก็พูดว่า “อย่าชักเรือเข้าลึก” หมายความว่า อย่าทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว

อย่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

หมายถึงอย่าทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์โดยไม่ได้ประโยชน์คุ้มกับเงินทองที่ต้องเสียไป เหมือนตำน้ำพริกเพียงครกหนึ่งแล้วเอาไปละลายในแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำมาก จะทำให้น้ำในแม่น้ำกลายเป็นน้ำพริกอย่างในหม้อแกงไม่ได้

เล่นกับหมา หมาเลียปาก เล่นกับสาก สากต่อยหัว

หมายถึงถ้าลดตัวไปเล่นหัวกับคนชั้นต่ำกว่า เขาก็อาจตีเสมอทำลวนลามเอา สากในที่นี้หมายถึงสากตำข้าวที่เขาพิงไว้ ถ้าใครซุกซนไปจับต้องเข้า สากอาจเลื่อนล้มทับถูกหัวถูกหูก็ได้

สิบคนเกื้อไม่เท่าเนื้อไข

หมายถึงหลายสิบคนช่วยเหลือมีบุญคุณ ก็ไม่เท่าญาติพี่น้อง เปรียบเหมือนเลือดข้นกว่าน้ำ

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ