ค้นเจอ 175 รายการ

pine

แปลว่า( ไม้ ) ไม้สนตระกูล Piuus มีหลายชนิด ตั้งแต่ชนิดเนื้อไม้อ่อน จนถึงเนื้อไม้แข็ง ชนิดใบยาวเนื้อไม้เหลือง มักใช้ในงานก่อสร้าง เนื้อไม้ขาวใช้ทำไม้แบบต่างๆ , ชนิดใบสั้น เนื้อไม้เหลืองใช้ทำวัตถุหรือส่วนประกอบใดๆ ที่ต้องการความแข็งแรง

laterite (1)

แปลว่าศิลาแลง : เป็นดินชนิดหนึ่งมีสนิมเหล็กและมีรูพรุนทั้งตัว มักพบเป็นพืดใหญ่อยู่ใต้หน้าดินธรรมดา ศิลาแลงนี้เมื่อถูกธรรมชาติชะล้างเอาดินธรรมดาที่ปกคลุมอยู่ออกไปจนโผล่ขึ้นมาบนผิวดินและเกิดเปื่อยยุ่ยกระจายตัวออกไปกลายเป็น "ดินลูกรัง" (lateritic soil) ที่นิยมใช้ทำถนน

gesso

แปลว่า1. พื้นผิวที่เตรียมไว้เพื่อการทาสี เช่น เฟอร์นิเจอร์ แผ่นไม้ กระดานเขียนรูป ฯลฯ ประกอบด้วยปลาสเตอร์ที่ผสมกับตัวประสาน เช่น อครีลิค แต่มักใช้ไขสัตว์ทาบางๆ แล้วขัดให้เรียบ2. การเขียนลวดลายด้วยการจัดตำแหน่งลวดลายด้วยชอล์กลงบนแผ่นหนัง เช่น ทาสีเงินและสีทองภายหลังหรืออาจขลิบเงินหรือทองก็ได้

cabriole leg

แปลว่าขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ที่ทำให้มีลักษณะโค้งงอไปมา เลียนแบบขาสัตว์ ใช้กันในสมัยกรีกตอนต้น และได้นำมาใช้ตอนปลายศตวรรษที่ 17 จนแพร่หลายไปอีกครึ่งศตวรรษแล้วหมดความนิยมไป ลักษณะเด่นคือช่วงขาส่วนบนโค้งออก ช่วงขา ส่วนล่างเว้าเข้า พอถึงตีนขาก็งอออก แล้วมักทำเป็นรูปตีนสัตว์ต่างๆ เช่น เป็นกีบ เป็นกรงเล็บจับลูกบอล ฯลฯ

valve, flap

แปลว่าบานปิดเปิดทางเดียว : 1. บานหรือลิ้นปิดเปิดติดอยู่ที่ตอนปลายท่อจ่ายน้ำของเครื่องสูบน้ำ เพื่อป้องกันการไหลกลับของน้ำ เมื่อเครื่องสูบน้ำหยุดทำงาน 2. บานหรือลิ้นปิดเปิดควบคุมระดับน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม มักออกแบบให้เปิดเมื่อระดับน้ำด้าน เหนือน้ำสูงกว่าระดับท้ายน้ำเพื่อระบายน้ำและปิดเมื่อระดับน้ำด้านท้ายน้ำสูงขึ้นเท่ากับหรือ มากกว่าระดับน้ำด้านเหนือน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลกลับบางครั้งเรียก flap gate

hippendale

แปลว่า(เครื่องเรือน) ชื่อแบบเครื่องเรือน ตามชื่อของนักออกแบบเครื่องเรือนชาวอังกฤษ คือ Thomas chippendle (1718 - 1779) โดยใช้ไม้มาฮอกะนีหรือไม้วอลนัท บางทีก็ใช้ไม้อ่อนลงลายทองแต่แบบของชิพเพนเดลไม่เคยตกแต่งด้วยวิธีฝังลวดลายในเนื้อไม้หรือใช้สีทา ลายประดับมักใช้ ลวดลายเปลือกหอย , ลวดลายคิวปิด , ดอกไม้ , ผลไม้ ใบไม้ละสัตว์ต่าง ๆ ขาเก้าอี้เป็นสี่เหลี่ยมตรง

irrigation requirement

แปลว่าความต้องการใช้น้ำชลประทาน : ปริมาณน้ำชลประทานที่ต้องการเพื่อการเพาะปลูก ซึ่งนอกเหนือไปจากปริมาณน้ำ ที่พืชได้รับจากธรรมชาติ เช่น ฝน น้ำค้าง ฯลฯ ปริมาณน้ำนี้จะต้องคิดเผื่อไว้สำหรับการระเหย และการสูญเสียน้ำทางอื่นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มักแสดงอยู่ในรูปแบบของความลึกของน้ำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ โดยอาจระบุช่วงเวลาที่ต้องการด้วยก็ได้ เช่น ต่อเดือน ต่อปีหรือต่อฤดูเพาะปลูกหนึ่ง เป็นต้น หรือหากแสดงอยู่ในรูปแบบเดียวกับหน่วยของ ชลภาระ (water duty) มันก็คือค่าของชลภาระนั่นเอง

 ศัพท์ช่างภาษาอังกฤษ – ไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร A-Z