ค้นเจอ 56 รายการ

ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว

เริ่มแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร(ระเบียบปฎิบัติ) ของผู้ปกครอง

คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี

บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด คนมักโกรธ คนตระหนี่ และคนเพลิดเพลินในสมบัติ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความเลวทราม

บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี

บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ไม่ชวนทำสิ่งที่มิใช่ธุระ การแนะนำดี เป็นความดีของปราชญ์ ปราชญ์ถูกกล่าวว่าโดยชอบก็ไม่โกรธ ปราชญ์ย่อมรู้วินัย การสมาคมกับปราชญ์จึงเป็นการดี

 พุทธสุภาษิต จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ