ค้นเจอ 64 รายการ

บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี

ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก, สัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนาจนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น

บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ

ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง, เขาเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์

ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้

ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น

บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และ เมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย

 พุทธสุภาษิต จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ