ค้นเจอ 135 รายการ

บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด

เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้, เพราะว่าเวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ

บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์

บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิลคือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา

ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น

เมื่ออนารชนก่อกรรมชั่ว อารชนใช้อาชญาหักห้าม การกระทำนั้น เป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้

พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ทรงไว้ซึ่งสุตะเป็นผู้สอบถาม เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้มีศีล และเป็นพหุสูตโดยเคารพ

ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่เพ้อฝัน สิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้วจึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด

เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้

ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเรา ในนามรูปโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ

คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก

 พุทธสุภาษิต จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ