ค้นเจอ 311 รายการ

ทึ่ง

หมายถึง(ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).

กก

หมายถึงก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.

เลี้ยงไม่รู้จักโต

หมายถึงก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้องขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.

โทษ,โทษ-

หมายถึง[โทด, โทดสะ-] น. ความไม่ดี, ความชั่ว, เช่น โทษแห่งความเกียจคร้าน, ความผิด เช่น กล่าวโทษ, ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ เช่น ถูกลงโทษ, ผลร้าย เช่น ยาเสพติดให้โทษ. ก. อ้างเอาความผิดให้ เช่น อย่าโทษเด็กเลย. (ส.; ป. โทส).

กาลจักร

หมายถึง[กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มนํ้าเมา กินเนื้อสัตว์ พรํ่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).

หูปลาช่อน

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Emilia sonchifolia (L.) DC. ex Wight ในวงศ์ Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจำ.

หูป่าตาเถื่อน

หมายถึงว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.

ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย

หมายถึง(สำ) ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร, ทำนองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.

บริโภค

หมายถึง[บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).

ล่วงเกิน

หมายถึงก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.

คลา

หมายถึง[คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).

จรรยา

หมายถึง[จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ