ค้นเจอ 116 รายการ

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

นิร,นิร-

หมายถึง[-ระ-] ว. คำประกอบหน้าคำอื่น แปลว่า ไม่, ไม่มี, ออก.

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

อันนะ

หมายถึงน. ของกินโดยเฉพาะข้าว, มักใช้เข้าคู่กับ ปานะ เป็น อันนะปานะ แปลว่า ข้าวและนํ้า. (ป., ส.).

ต้น

หมายถึงน. ลำของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้นวงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คำนำหน้าชื่อพระภิกษุสามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือน ต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคำอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทำกิจการประจำ เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรำ. (ดึกดำบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.

ตริ

หมายถึง[ตฺริ] ใช้ประกอบหน้าศัพท์ แปลว่า สาม เช่น ตริโกณ คือ รูปสามเหลี่ยม. (ดู ตรี ๓).

หมายถึง[ทะ] ใช้เป็นคำนำหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.

ธนัชฌ์

หมายถึงมาจาก ธนะ สนธิ กับ อัชฌ เป็น ธนัชฌ [ธนัชฌ์] แปลว่า มีนิสัยด้านการเงินดี รู้จักใช้จ่าย

โทร,โทร-

หมายถึง[โทระ-] ว. คำนำหน้าศัพท์ แปลว่า ไกล.

บริจาริกา

หมายถึง[บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).

อัษฎางคิกมรรค

หมายถึง[อัดสะดางคิกะมัก] น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ