ค้นเจอ 292 รายการ

สาธารณ,สาธารณ-,สาธารณะ

หมายถึง[สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).

พ่น

หมายถึงก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, อาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

เสียสายตา

หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.

เสียหลัก

หมายถึงก. ผิดไปจากหลักการ หลักเกณฑ์ หรือความถูกต้องเป็นต้น เช่น เป็นผู้ใหญ่มีคนเขานับถือ ทำสิ่งใดอย่าให้เสียหลัก; ซวดเซ, พลาดท่า, ทรงตัวไม่ได้, เช่น คนเมาเสียหลักเลยพลัดตกลงไปในคลอง.

นิ่ง,นิ่ง ๆ

หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.

ขุก

หมายถึงว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลำบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).

ชีพุก

หมายถึงน. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).

เล่า

หมายถึงก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.

พัน

หมายถึงก. วนรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสายหรือสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น พันคอ พันแผล เถาวัลย์พันกิ่งไม้, ม้วน เช่น พันไหมพรม, รัดโดยรอบ เช่น พันแข้ง, เกี่ยวกันไปมา, เกี่ยวกันยุ่งเหยิง, เช่น ด้ายพันกัน.

พู่

หมายถึงน. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชูก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.

เสียเปล่า

หมายถึงก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า. ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็นลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสียเปล่า แต่ไม่รู้จักคิด.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ