ค้นเจอ 292 รายการ

สีสา

หมายถึง(ปาก) ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย.

พะพาน

หมายถึงก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.

ฟืม

หมายถึงน. เครื่องสำหรับทอผ้า มีฟันเป็นซี่ ๆ คล้ายหวี สำหรับสอดเส้นด้ายหรือไหมใช้กระทกให้ประสานกัน.

เสียกระบวน

หมายถึงก. ไม่เป็นกระบวน เช่น กองทัพถูกตีร่นจนเสียกระบวน, ไม่เป็นไปตามลำดับรูปแบบที่กำหนด เช่น จัดรถบุปผชาติให้เป็นไปตามลำดับ อย่าให้เสียกระบวน.

เพรา

หมายถึง[เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพราให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.

ผ้าหางกระรอก

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียวเสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก.

โขษม

หมายถึง[ขะโสม] น. ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน. (ป. โขม; ส. เกฺษาม). (แผลงมาจาก โขม).

เอ็ด

หมายถึงก. ทำเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.

เผือ

หมายถึง(กลอน) ส. ข้า, ฉัน, เช่น สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ. (ลอ), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ระวิง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับเอาเข็ดด้ายหรือไหมสวม เพื่อกระจายเส้นด้ายออกจากกัน เมื่อเวลาสาวเส้นด้ายจะได้ออกเป็นเส้น ๆ ไม่ขาด ไม่ยุ่ง.

จ่อ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม.

หักแรง

หมายถึงก. โหมทำงานจนเกินกำลัง เช่น อย่าหักแรงทำงานจนเกินไป จะทำให้ล้มป่วย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ