ค้นเจอ 19 รายการ

เคย

หมายถึงใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากริยานั้น ๆ ได้เป็นมาแล้ว เช่น เคยทำ = ได้ทำมาแล้ว เคยเห็น = ได้เห็นมาแล้ว, บางทีใช้พูดละกริยาที่ประกอบเสีย เหลือแต่ว่า เคย ก็มี เช่น เคยไปหรือไม่เคย ไม่เคยเลย. ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที.

ชักรอก

หมายถึงก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อนผ่านร่องของรอกเพื่อยก ลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะว่า โขนชักรอก.

ตื่น

หมายถึงก. ฟื้นจากหลับ เช่น ตื่นนอน, ไม่หลับ เช่น ตื่นอยู่; แสดงอาการผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ เป็นต้น เช่น วัวตื่น ควายตื่น ตื่นเวที ตื่นยศ ตื่นไฟ; รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในคำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า รู้เท่าทัน, รู้ตัวขึ้น.

เรื้อ

หมายถึงก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้วงอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียกพืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ.

ละคร

หมายถึง[-คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.

ลูกหลง

หมายถึงน. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้างอยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับเคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไปหมอบกับพื้นเวที.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ