ค้นเจอ 4,273 รายการ

เจ่า

หมายถึงน. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.

ฉลาง

หมายถึง[ฉะหฺลาง] น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ชาวนํ้า หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง); ชื่อผ้าที่มีลายชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลายฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน. (ขุนช้างขุนแผน).

ฉ้อโกง

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.

ชื่อว่า

หมายถึงสัน. แม้ว่า, เรียกว่า, นับว่า, เช่น ชื่อว่าเรือนมึงงามดังเรือนท้าว. (ม. คำหลวง ชูชก).

ชุบสรง

หมายถึงน. ผ้าผลัดอาบนํ้าเจ้านายหรือพระสงฆ์ เรียกว่า ผ้าชุบสรง.

ซ้าย

หมายถึงว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลังไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.

ซาวน้ำ

หมายถึงน. เครื่องกินกับขนมจีนปนกันหลายสิ่ง มีกุ้งแห้งป่น กระเทียมซอย สับปะรด หรือส้มต่าง ๆ เป็นต้น มักกินกับแจงลอน เรียกว่า ขนมจีนซาวนํ้า.

ซุย

หมายถึงว. ร่วนในลักษณะอย่างดินที่ยุ่ยไม่เกาะกันแน่นเหนียว เรียกว่า ดินซุย, เรียกเนื้อเผือกหรือมันที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เนื้อซุย.

เซิง

หมายถึงน. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ลมที่พัดจากตะวันตกมาตะวันออก เรียกว่า ลมเซิง.

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

ดก

หมายถึงว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่าปรกติ เรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คนที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคำพูดประชด เช่น พูดว่า ได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.

ตะบอง

หมายถึงน. ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม, ที่มีขนาดยาวประมาณ ๔ ศอก เรียกว่า ตะบองยาว ที่มีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า ตะบองสั้น, กระบอง หรือ ตระบอง ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ