ค้นเจอ 549 รายการ

ลงทัณฑ์

หมายถึง(กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.

วิวระ

หมายถึง[-วะ-] น. ช่อง, ปล่อง, เหว, รู, โพรง; ความผิด. (ป., ส.).

หลงละเมอ

หมายถึงก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลงละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.

ธรรมเนียมประเพณี

หมายถึงน. ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว.

แกล้ง

หมายถึง[แกฺล้ง] ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

สองหน้า

หมายถึงน. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. (สำ) ว. ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.

สาสม

หมายถึง[สา-สม] ว. เหมาะ, สมควร, เช่น ต้องลงโทษให้สาสมแก่ความผิด.

โศกี

หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.

โศกา

หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.

มิจฉา

หมายถึง[มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มิถฺยา).

ตายโหง

หมายถึงก. ตายผิดธรรมดาโดยอาการร้าย เช่น ถูกฆ่าตาย ตกนํ้าตาย.

สางห่า

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อจิ้งเหลนหางยาวชนิด Takydromus sexlineatus ในวงศ์ Lacertidae ตัวเล็ก หางยาวประมาณ ๕ เท่าของความยาวลำตัว พบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่ามีพิษร้ายแรง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ