ค้นเจอ 1,880 รายการ

กุหร่า

หมายถึง[-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสีชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า กะบังหน้า).

กาฬาวก

หมายถึง[-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีนํ้าไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).

ตับเป็ด

หมายถึงน. ชื่อหินชนิดหนึ่งสีดำ เนื้อแข็ง, เรียกสีดำเจือแดงว่า สีตับเป็ด หรือ ดำตับเป็ด.

สายสะพาย

หมายถึงน. แพรแถบสีเดียวหรือหลายสี เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง ใช้สะพายบ่า.

สุหร่ง

หมายถึงว. มีสีดี, มีสีงาม, งามฉูดฉาด, งามเรืองรอง, เพี้ยนมาจาก สุรงค์.

อีดำอีแดง

หมายถึงน. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นสีดำสีแดงตามตัว.

ผ้าพื้น

หมายถึงน. ผ้านุ่งที่ทอด้วยด้ายมีสีใดสีหนึ่งเป็นพื้น ไม่มีดอกไม่มีลาย.

หริ

หมายถึง[หะริ] น. ชื่อพระนารายณ์. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. (ป., ส.).

เบญจวรรณ

หมายถึงว. ๕ สี, ๕ ชนิด. น. นกแก้วขนาดโตมีหลายสี.

พรรณราย

หมายถึง[พันนะ-] น. สีพราย ๆ, สีเลื่อมระยับ, งามผุดผ่อง.

ปาน

หมายถึงน. รอยสีแดงหรือสีดำเป็นต้นที่เกิดเป็นเองตามร่างกายบางแห่งแต่กำเนิด.

ต๊อก

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Numida meleagris ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว เหนียงสีแดง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ