ค้นเจอ 246 รายการ

กักตุน

หมายถึงก. เก็บสินค้าไว้เป็นจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร, ตุน ก็ว่า. (กฎ) น. มีโภคภัณฑ์ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้จ่ายส่วนตัว และไม่นำออกจำหน่ายตามวิถีทางการค้าปรกติ

มันปู

หมายถึงว. สีแดงเจือเหลืองกับดำ เช่น พระเครื่องเนื้อสีมันปู โลหะที่เก็บไว้นาน ๆ จะออกสีมันปู. น. เรียกข้าวเจ้าที่มีสีแดงคลํ้าว่า ข้าวมันปู.

กัง

หมายถึงน. ชื่อลิงชนิด Macaca nemestrina ในวงศ์ Cercopithecidae ขนสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นงอโค้งขึ้นไปทางด้านหลัง ทางปักษ์ใต้ใช้เก็บมะพร้าว, กะบุด ก็เรียก.

และเล็ม

หมายถึงก. กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กและเล็มขนม แกะและเล็มหญ้า; เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น และเล็มยอดตำลึง และเล็มยอดกระถิน; เล็ม ก็ว่า.

หนาหู

หมายถึงว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหูว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็นคำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.

อู่

หมายถึงน. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สำหรับเก็บเรือหรือซุง.

ภาษีสรรพสามิต

หมายถึง[-สับพะ-, -สันพะ-] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).

ตราแดง

หมายถึง(โบ) น. หนังสือสำคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กำหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่ง แล้วงดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.

ฝากทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้.

กู้

หมายถึงก. ทำให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ; เก็บเข้าที่ เช่น กู้ข้าว กู้ผ้า; เอาเครื่องจับปลาขึ้นจากนํ้า เช่น กู้ไซ กู้ลอบ.

ขุม

หมายถึงน. หลุม, ใช้ในบางลักษณะ เช่น ขุมขน ขุมนรก; แหล่งที่เกิดที่เก็บ เช่น ขุมทรัพย์; ลักษณนามใช้เรียกหน่วยที่ต่อรองกันในการพนันคราวหนึ่ง ๆ เช่น ๕ เอา ๑ เป็นหน่วยหนึ่ง เรียกว่า ขุมหนึ่ง.

ถนอม

หมายถึง[ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ