ค้นเจอ 246 รายการ

หมากเจียน

หมายถึงน. ผลหมากดิบสดที่ผ่าตามยาวออกเป็นซีก ๆ นำมาเจียน ใช้กินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

หมายถึง(กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.

หมากกั๊ก

หมายถึงน. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ผ่าตามยาวออกเป็น ๔ ซีก แล้วนำไปตากแดดให้แห้งจนเปลือกล่อนหลุดออก เพื่อเก็บเนื้อไว้กินได้นาน ๆ.

ดอง

หมายถึงก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.

เล็ม

หมายถึงก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า; ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บแต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า.

สำมะโน

หมายถึง(กฎ) น. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากร เคหะ การเกษตร อุตสาหกรรม ธุรกิจ และการอื่น เพื่อใช้ประโยชน์ในทางสถิติ โดยการแจงนับจากทุกหน่วยเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ.

ยาวชีวิก

หมายถึง[ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).

กก

หมายถึงก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.

สิ่งละอันพันละน้อย

หมายถึงน. อย่างนี้บ้างอย่างนั้นบ้าง, อย่างละเล็กอย่างละน้อย, เช่น ของขายมีสิ่งละอันพันละน้อย. ว. มีอย่างนี้บ้างอย่างนั้นบ้าง, มีอย่างละเล็กอย่างละน้อย, เช่น แม่ค้าเก็บของสิ่งละอันพันละน้อยมาขาย.

หมักหมม

หมายถึงก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.

ห้องเครื่อง

หมายถึง(ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับเก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือเป็นต้น.

ประเมินภาษี

หมายถึงก. กำหนดจำนวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กำหนดจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ