ค้นเจอ 246 รายการ

จังกอบ

หมายถึง(โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.

ภาษาศาสตร์

หมายถึงน. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.

เครื่องบันทึกเสียง

หมายถึงน. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่นซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.

ภัณฑาคาริก

หมายถึง[พันดาคาริก, พันทาคาริก] น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บสิ่งของของสงฆ์. (ป.).

หวอด

หมายถึงน. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สำหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.

ขยัก

หมายถึง[ขะหฺยัก] ก. กักหรือเก็บไว้บ้างไม่ปล่อยไปจนหมดหรือไม่ทำให้หมด. น. ตอน, พัก, เช่น ทำ ๒ ขยัก ๓ ขยัก.

คนละ

หมายถึงว. คนหนึ่ง ๆ, แต่ละคน, เช่น เก็บเงินคนละ ๕ บาท; ต่างหากจากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละเล่ม.

เทอม

หมายถึง[เทิม] น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ, ภาคเรียน, เรียกค่าเล่าเรียนที่เก็บในภาคเรียนหนึ่ง ๆ ว่า ค่าเทอม. (อ. term).

จิตไร้สำนึก

หมายถึงน. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. (อ. un-conscious).

สำมะโนประชากร

หมายถึงน. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและลักษณะต่าง ๆ ของราษฎรทุกคนในทุกครัวเรือน ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในทางสถิติ.

ภาษี

หมายถึงน. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.

ศุลกากร

หมายถึง[สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ