ค้นเจอ 319 รายการ

อุปถัมภก

หมายถึง[อุปะถำพก, อุบปะถำพก] น. ผู้คํ้าจุน, ผู้ค้ำชู, ผู้สนับสนุน, ผู้เลี้ยงดู. (ป. อุปตฺถมฺภก; ส. อุปสฺตมฺภก).

ลายไพรกลม

หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ไซปากครุ เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๓ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมีตอกซังเป็นเส้นยืน เว้นระยะห่างเท่า ๆ กันสานตอกข่ม ๒ เส้น ยก ๑ เส้น จะเกิดเป็นลายพันกันเป็นเกลียวไปตามเส้นตอกซังทุกเส้น.

ลอบ

หมายถึงน. ชื่อเครื่องสานสำหรับดักปลาดักกุ้ง มีหลายชนิด เช่น ลอบนอน ลอบตั้ง ลอบประทุน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตาข่ายที่ขึงดักจับนก.

งอบ

หมายถึงน. เครื่องสวมหัวสำหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอกด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสำหรับสวม.

อุปโภค

หมายถึง[อุปะโพก, อุบปะโพก] ก. เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค. ว. ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค. (ป., ส.).

อุปมา

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น. ก. เปรียบเทียบ. (ป., ส.).

วิปฏิสาร,วิประติสาร

หมายถึง[วิบปะติสาน, วิปฺระ-] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทำผิด หรือเนื่องด้วยการกระทำผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).

แผง

หมายถึงน. เครื่องสานชนิดหนึ่ง เป็นแผ่นอย่างเสื่อลำแพน มีกรอบไม้โดยรอบ ใช้เป็นเครื่องกั้นเครื่องกำบังเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ติดแถบที่หน้าอกเป็นแผง.

เขิง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานสำหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง.

สารตรา

หมายถึง[สาน-] (กฎ; โบ) น. หนังสือราชการที่เชิญพระบรมราชโองการซึ่งประทับตราใหญ่; หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลงชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมาเรียกว่า ท้องตรา.

กระปุ่ม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สำหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.

อุปการ,อุปการ-,อุปการ-,อุปการะ

หมายถึง[อุปะการะ-, อุบปะการะ-] น. ความช่วยเหลือเกื้อกูล, ความอุดหนุน, คู่กับ ปฏิการะ = การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ. ก. ช่วยเหลือเกื้อกูล, อุดหนุน. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ