ค้นเจอ 264 รายการ

จาน

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).

จู้

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.

แจบ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.

ซุบ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง จำพวกยำเรียกชื่อตามสิ่งของที่นำมาประกอบเป็นหลัก เช่น ซุบหน่อไม้ ซุบเห็ด.

แซ่บ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ว. อร่อย.

ดอง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. การแต่งงาน เช่น กินดอง = กินเลี้ยงในพิธีแต่งงาน เกี่ยวดอง = เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน. ว. เนื่องกันในทางเขยหรือสะใภ้ เช่น เกี่ยวดอง เป็นดองกัน.

ดอน

หมายถึงน. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด, เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คำประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.

ตี่

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. แหวกออก, ถ่างออก, เช่น ตี่ฝา ว่า ถ่างฝา ตี่ตา ว่า ถ่างตา.

แถ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. ทำให้เตียน, ทำให้โล่ง, เช่น แถผม แถหัว หมายถึง โกนผม โกนหัว.

แว่น

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และเรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่น-อีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนามเรียกสิ่งกลม ๆ ที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.

เสด

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ปีจอ.

หนอก

หมายถึง[หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)].

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ