ค้นเจอ 61 รายการ

เสียเปล่า

หมายถึงก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า. ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็นลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสียเปล่า แต่ไม่รู้จักคิด.

สวิงสวาย

หมายถึง[สะหฺวิงสะหฺวาย] ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า จะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย; โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย.

สู้ยิบตา

หมายถึง(สำ) ก. สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา).

หัวโขน

หมายถึงน. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยายหมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.

รุ่มร่าม

หมายถึงก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม.

ครอบจักรวาล

หมายถึง[คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น "พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์)."

หลวม

หมายถึงว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลืออยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยังหลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.

ภาพพจน์

หมายถึง[พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).

โลดโผน

หมายถึงว. แปลกผิดธรรมดา เช่น สำนวนโลดโผน, ผาดโผนน่าหวาดเสียวต่ออันตราย เช่น ขับรถโลดโผน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ โจนทะยาน เป็น โลดโผนโจนทะยาน หมายความว่า ผาดแผลงอย่างน่าหวาดเสียวต่ออันตราย เช่น เด็กซน ๆ ชอบเล่นโลดโผนโจนทะยาน.

เสื่อผืนหมอนใบ

หมายถึงน. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้; โดยปริยายหมายถึงมีสมบัติติดตัวเพียงเล็กน้อย แต่มีวิริยอุตสาหะแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้.

จ๊อก

หมายถึงว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสำนวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.

ฉบับ

หมายถึง[ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ