ค้นเจอ 61 รายการ

กัปปิยโวหาร

หมายถึงน. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.

หมาจนตรอก

หมายถึง(สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ในสำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.

สแลง

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง. (อ. slang).

พกหิน

หมายถึง(สำ) ว. ใจหนักแน่น, ใช้เข้าคู่กับคำ พกนุ่น ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.

หูเข้าพรรษา

หมายถึงว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.

พกนุ่น

หมายถึง(สำ) ว. ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.

ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. อำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยังไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสำนวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยังไม่รู้สึก.

ละเมียดละไม

หมายถึงก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านางได้ละเมียดละไม.

วาทศาสตร์

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).

กินบุญเก่า

หมายถึง(สำ) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).

สำนวนความ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้น ซึ่งประกอบเป็นสำนวนของคดี.

โวหาร

หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ