ค้นเจอ 2,566 รายการ

เพลงออกสิบสองภาษา

หมายถึงน. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดยนำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒ ภาษา.

อีโหน่อีเหน่

หมายถึงน. เรื่องราวที่เกิดขึ้น ใช้ในทางปฏิเสธในสำนวนว่า ไม่รู้อีโหน่อีเหน่.

ติดสำนวน

หมายถึงก. พูดใช้สำนวนมาก ๆ, พูดจาเล่นสำนวน.

รุ่ย

หมายถึงว. หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้นสองเส้น.

คำตั้ง

หมายถึงน. คำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทำพจนานุกรม; คำที่เป็นหลักให้คำอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคำติดต่อ.

กุล,กุล,กุล-

หมายถึง[กุน, กุนละ-, กุละ-] น. ตระกูล, สกุล. (ป., ส.).

หมายถึงคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).

ไก่ได้พลอย

หมายถึงการที่ได้ของมีค่ามาแต่ไม้รู้คุณค่าของสิ่งนั้น

ไปยาล

หมายถึงน. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).

รัดกุม

หมายถึงว. ไม่รุ่มร่าม, กระชับ, ไม่ยาวเยิ่นเย้อ, เช่น แต่งตัวรัดกุม สำนวนรัดกุม.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

หยดย้อย

หมายถึงว. ไพเราะจับใจ เช่น สำนวนหยดย้อย, ชดช้อยอ่อนหวาน เช่น งามหยดย้อย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ