ค้นเจอ 1,205 รายการ

วาณี

หมายถึงน. ถ้อยคำ, ภาษา. (ป., ส.); เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ส.).

อเสกขบุคคล,อเสขบุคคล

หมายถึง[อะเสกขะ-, อะเสขะ-] น. ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.

ลงกลอน

หมายถึงก. ใส่กลอน, เดิมหมายถึงใส่กลอนล่าง.

เบียนธาตุ

หมายถึงก. ทำให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป - อาคม = มา.

เบื้องหลัง

หมายถึงว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบแฝงอยู่, เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.

อายัน

หมายถึงน. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).

หูเข้าพรรษา

หมายถึงว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.

พกนุ่น

หมายถึง(สำ) ว. ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.

ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. อำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยังไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสำนวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยังไม่รู้สึก.

เกรน

หมายถึง[เกฺรน] น. มาตราชั่งอย่างหนึ่งของอังกฤษ ๑ เกรน เท่ากับ ๖๔.๗๙๙ มิลลิกรัม. (อ. grain).

ลิ้นอ่อน

หมายถึงว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ชัดเจน, อาการที่พูดภาษาอื่นได้ง่าย.

ภารดี

หมายถึง[พาระ-] น. ถ้อยคำ, คำพูด, ภาษา. (ส. ภารติ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ