ค้นเจอ 194 รายการ

เวียนเทียน

หมายถึงก. อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา เช่น เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันวิสาขบูชา, เดินเทียน ก็ว่า; ยกแว่นที่จุดเทียนติดไว้ วักเข้าหาตัว ๓ ครั้ง แล้วโบกควันออก และส่งต่อให้คนอื่นเวียนไปโดยรอบสิ่งที่ทำขวัญ; โดยปริยายหมายความว่า ทำแล้วกลับมาทำอีก เช่น เด็กเวียนเทียนรับของบริจาค.

เครื่องทองทิศ

หมายถึงน. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.

ตาย

หมายถึงก. สิ้นใจ, สิ้นชีวิต, ไม่เป็นอยู่ต่อไป, สิ้นสภาพของการมีชีวิต, เช่น สภาวะสมองตาย; เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น มือตาย ตีนตาย; ไม่เดินเพราะเครื่องเสียหรือหยุดเป็นต้น เช่น รถยนต์ตาย นาฬิกาตาย; ยืนแต้มอยู่อย่างเดียว เช่น ลูกเต๋าตายหก; ลักษณะที่ประตูในการเล่นการพนันบางประเภท เช่น โป ถั่ว ไม่ออกเลย หรือนาน ๆ จึงจะออกสักครั้งหนึ่ง; ผิดตามที่กติกากำหนดไว้ในการเล่นกีฬาหรือการละเล่นบางชนิด.

สวนป่า

หมายถึงน. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.

พลี

หมายถึง[พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตามแบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).

ตะขาบ

หมายถึงน. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สำหรับชักให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตีกันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.

ที่

หมายถึงน. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทำมาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตำแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คำใช้แทนคำนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คำนำหน้าสังขยาบอกลำดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.

ตั้ง

หมายถึงก. ชูตัว, ชูตัวหรือทำให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าวเอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดำรง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทำให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตำแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้งเปรียญ; กำหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสำรับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คำแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง.

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

ต้น

หมายถึงน. ลำของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้นวงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คำนำหน้าชื่อพระภิกษุสามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือน ต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคำอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทำกิจการประจำ เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรำ. (ดึกดำบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ