ค้นเจอ 210 รายการ

สายรุ้ง

หมายถึงน. กระดาษม้วนสีต่าง ๆ ทำเป็นแถบเล็กยาว ใช้ตกแต่งสถานที่หรือใช้ขว้างให้คลี่ออกแสดงความรื่นเริง.

สุขา

หมายถึง[สุ-] (ปาก) น. ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตามสถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา ก็เรียก.

หัวงาน

หมายถึงน. เวลาตั้งต้นทำงาน; เนื้อที่นาตรงเริ่มไถหรือคราด; สถานที่เริ่มต้นทำงาน; (โบ) หัวหน้างาน.

ผู้ประกอบธุรกิจ

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย.

สำนักงาน

หมายถึงน. สถานที่ทำการของรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทห้างร้านเป็นต้น เช่น สำนักงานสลากกินแบ่ง สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน สำนักงานทนายความ.

แม่บ้าน

หมายถึงน. ภรรยาของพ่อบ้าน,หญิงผู้จัดการงานในบ้านเป็นต้น, หญิงผู้จัดการงานธุรการในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น, คู่กับ พ่อบ้าน.

ศาลพระภูมิ

หมายถึงน. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบันทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี.

บูชนียสถาน

หมายถึง[บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.

คุ้นเคย

หมายถึงก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกันมานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทำบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืดได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.

แต่

หมายถึงว. เฉพาะ, อย่างเดียว, เท่านั้น, เช่น เลือกเอาแต่ที่ดี ๆ อยู่แต่ในบ้าน. บ. นำหน้านามบอกเวลาหรือบอกสถานที่ เช่น มาแต่เช้า มาแต่บ้าน แต่ไหนแต่ไรมา.

ถ่ายทอด

หมายถึงก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่นหรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นำเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.

อาบัติ

หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ